การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษา ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลการเรียนสะสม ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษาตามการรับรู้ และทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิต และ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิตจำแนกตามเพศ ระดับผลการเรียนและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ทุกสาขาวิชา ประกอบด้วย เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา พลศึกษาและสุขศึกษา และสาขาภาษาอังกฤษศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 141 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. โมเดลตัวบ่งชี้ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไคสแควร์ = 34.81, p = 0.47717 ที่ df = 35, GFI = 0.96, AGFI = 0.91 และ RMR = 0.034 ตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ หลักการประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม รองลงมาคือ การประยุกต์ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและหลักการประเมินภาคปฏิบัติตามลำดับ
2. ทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิตมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับความรู้ตามการรับรู้ของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกตามตัวแปรเพศ ระดับผลการเรียนและสาขาวิชาพบว่า ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิสิตไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : การพัฒนาตัวบ่งชี้, การวัดและประเมินผลการศึกษา
Abstract
The present study aimed at: 1) developing knowledge indicators of measurement and evaluation in education of students, 2) investigating the relationships between accumulated grades, perceived knowledge of measurement and evaluation in education, and students’ attitudes regarding measurement and evaluation, and 3) exploring and comparing the effects of attitudes regarding measurement and evaluation in education as categorized according to gender, learning achievement, and major fields of study. The study sample consisted of 141 third-year students of the Faculty of Education and Development Sciences in all majors including agricultural and environmental education, mathematics and computer education, physical education and health education, and English education who were enrolled in the measurement and evaluation in education course in the first semester of the academic year 2012. The instrument used to collect data was a questionnaire. Data analysis was conducted by means of the SPSS for Windows Version 16.00 and Lisrel 8.72. The study findings can be summarized as follows:
1. The developed model of indicators of measurement and evaluation in education was
consistent with the evidence-based data, with the Chi-square value = 34.81, p = 0.47717 at df = 35, GFI = 0.96, AGFI = 0.91, and RMR = 0.034. The indicator which had the highest weight component was formative and summative assessments, followed by application of basic statistics in analysis of quantitative data and performance assessment, respectively.
2. The students’ attitudes regarding measurement and evaluation in education were positively related to knowledge as perceived by the students with statistical significance at the 0.01 level.
3. The mean score of overall attitudes regarding measurement and evaluation in education was at a high level. When considering the attitudes in terms of the gender, learning achievement, and major fields of study variables, it was found that the mean scores of students’ attitudes regarding measurement and evaluation in education were not different.
Keywords: Development Indicators, Measurement and Evaluation
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
รายการอ้างอิง
พินดา วราสุนันท์. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรู้ทางการวัดและประเมินผลการศึกษาของนิจิตคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 (มกราคม-มิถุนายน 2556).หน้า 1-14
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น