การสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

 

ชื่อวิทยานิพนธ์การสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
Construction of a Microcomputer Package for Educational Measurement and Evaluation
ชื่อนิสิตโกชัญ ทองคำ
Gochun Tongkhum
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษารศ ดร ต่าย เซี่ยงฉี รศ อุเทน ปัญโญ รศ ดร สุธรรม์ จันทน์หอม
Asso Prof Dr Tay Chiengchee Asso Prof Uthen Panyo Asso Prof Dr Suthan Janhom
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย
Chiang Mai University. Chiang Mai (Thailand). Graduate School
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (การวัดและประเมินผลการศึกษา)
Master. Education (Educational Measurement and Evaluation)
ปีที่จบการศึกษา2539
บทคัดย่อ(ไทย)ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างโปรแกรม สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางการวัดและประเมินผลการ ศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อสอบ การหาคุณภาพของเครื่องมือ การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน และการตัดเกรด 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรมที่สร้างขึ้นมา ได้แก่ ความเชื่อมั่นของผลการคำนวณ ความเที่ยงตรงของผลการ คำนวณ และความสะดวกในการใช้โปรแกรม ผลการสร้างโปรแกรม ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมโดยใช้ ภาษาปาสคาล รุ่น 7.0 และแบ่งโปรแกรมออกเป็น 9 โปรแกรม คือ โปรแกรมติดต่อกับผู้ใช้ (EVANA.PAS) โปรแกรมวิเคราะห์ ข้อสอบ (ANAL2000.PAS) โปรแกรมหาคุณภาพของเครื่องมือ (GRAD2000.PAS) และโปรแกรมช่วยงาน (PMATH.PAS, PSCREEN.PAS, PUTIL.PAS, JUNGTBL.PAS) โดยมีโปรแกรม EVANA.PAS เป็นโปรแกรมหลัก จะเรียกใช้กระบวนการในโปรแกรม อื่นๆ ที่เหลือเมื่อมีการคำนวณและรายงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ โปรแกรมนั้นๆ โปรแกรมนี้สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบบ 16 บิตและ 32 บิต จอภาพสี (Color Monitor) และจอภาพ สีเดียว (Monochrome) ที่มีกราฟิกส์การ์ด หรือการ์ดภาษาไทยแบบ 25 บรรทัด โดยสามารถแสดงผลในระบบภาษาไทย และใช้เครื่อง ขับจานแม่เหล็กเพียง 1 เครื่อง โปรแกรมแสดงรายการเลือกการทำงาน สามารถแสดงรายการ เลือกการทำงานโดยการส่งแถบสว่างไปยังรายการที่ต้องการ จะ ปรากฎรายการให้ทำงานต่อไป (Pull Down Menu) ข้อมูลที่ใช้ กับโปรแกรมเป็นข้อมูลตัวอักษร (Text File) ซึ่งสามารถใช้ โปรแกรมอื่นพิมพ์แทนได้ เช่น โปรแกรมราชวิถีเวิร์ด โปรแกรม เวิร์ดจุฬา หรือโปรแกรมพิมพ์ข้อความ (Editor) อื่นๆ โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่มได้ 2 แบบ คือวิเคราะห์โดยใช้ตารางจุง เตห์ ฟาน และโดยใช้สูตรอย่างง่าย สามารถวิเคราะห์ข้อสอบอิงเกณฑ์ได้ 3 แบบ คือ การหาดัชนีความไว การวิเคราะห์ข้อสอบโดยใช้สูตร B-INDEX และการวิเคราะห์ข้อสอบ แบบ Rasch Model สามารถหาคุณภาพของเครื่องมือได้ดังนี้ หา ความเชื่อมั่นโดยวิธีแบ่งครึ่งข้อสอบแล้วขยายให้เต็มฉบับ (Split- half Method) หาความเชื่อมั่นโดยใช้ความคงที่ภายใน (Internal Consistency) หาความเชื่อมั่นของข้อสอบอิงเกณฑ์ หาความเชื่อมั่น ของผู้สังเกตหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) และหาอำนาจจำแนกของแบบวัดสามารถแปลงคะแนนเป็น เปอร์เซนไตล์ คะแนนที่ปกติ คะแนนซีปกติ และสามารถตัดเกรดได้ ดังนี้ โดยวิธีกำหนดเกณฑ์ ใชคะแนนทีปกติ ใช้วิธีของ Douglas ใช้วิธีของ Stuit ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้ค่ามัธยฐานและส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ การตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือความเชื่อมั่น (reliability) คือคำนวณได้ค่าคงเดิม ทุกครั้งเมื่อใช้ข้อมูลเดิม ด้านความเที่ยงตรง (Validity) คือ สามารถคำนวณได้ค่าถูกต้องตามสูตรสถิติที่เลือก และด้านความ สะดวกในการใช้งาน พบว่าโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งาน
บทคัดย่อ(English)The purposes of this study were 1) to construct a microcomputer package for data analysis in educational measurement and evaluation such as item analysis, finding efficiency of tools, transforming raw score to standard score and grading 2) to verify the efficiencies of the package such as the validity and the reliability of calculation and the comfortable use of the program. The program was written in Turbo Pascal version 7.0 and was separated to 9 subprograms. There were subprogram communicated users (EVANA.PAS), subprogram used for item analysis (ANAL2000.PAS), subprogram used for finding efficiency of tools (RELI2000.PAS), subprogram used for grading (GRAD2000.PAS) and subprograms used for other utilities (PMATH.PAS, PSCREEN.PAS, PUTIL.PAS, JUNGTBL.PAS) EVANA.PAS was the main program used. The rest was used when there were calculation or printing report. This program could run on the 16 bits or 32 bits microcomputer either color or monochrome monitor which had 25 lines display of graphic card or Thai card. The program could display in Thai and used only one disk drive. The program could show menus to be selected to work, could select menu by sending high light todesired menu. When press enter, it would show another menu as pull down menu. The data used with this program was text file, the users could also use other program to create data such as rajvithee word, cu-writer or the text editor. The program could be used for item analysis which was two types for norm referenced test. They were Chung The Fan and simple item analysis. Three types for criterion referenced test which were sensitivity index, B-index and Rasch Model. The program could find the efficiencies of tools, the reliability such as the split-half method, the internal consistency method, the reliability of criterion referenced test, reliability of observer, index of concurrent (IOC), test discrimination, score transforming to percentile normalized T-score normalized Z-score and could grade such as grading by defined criterion referenced test, by normalized T-score, by Douglas method, by Stuit method, by using mean and standard derivation and by using median and quartile. There were three areas the researcher verified the efficiencies of the program. They were the reliability of the program which meaned the program calculated the same value when using the same data, the validity which meaned that the program calculated correctly as the statistic formula and the facility of using program. It was found out that the program provided facilities for using.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ร่วมพิธีเปิดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์และสะเต็มศึกษา (STEM Education)

นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี รุ่นที่ 8 กลุ่มที่ 2 (M.Ed.8/2) พ.ศ.2564