การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน

 Title

การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน
Management of dual vocational training in Lampang province in industrial field

Classification :.DDC: 378.101
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาระบบวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ ครูผู้สอน ครูฝึก นักศึกษา ใน 4 ด้าน คือ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการผลและประเมินผลการศึกษาประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ ครูผู้สอน ครูฝึก นักศึกษาทวิภาคีที่ฝึกงานในสถานประกอบการในจังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2547 รวมจำนวนทั้งหมด 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาครีประเภทช่างอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ ครูผู้สอน ครูฝึก นักศึกษารวม 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดหลักสูตรกับด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา สำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในด้านต่าง ๆ พบว่าด้านการจัดหลักสูตรมีปัญหาคือ การเรียนไม่ตรงกับการปฏิบัติจริง และหลักสูตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดหลักสูตรให้ชัดเจน ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ควรจัดทำหลักสูตรกลางให้ยืดหยุ่น และเพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษานำไปใช้หรือครมีการจัดหลักสูตรทวิภาคีอาชีวศึกษาจังหวัดร่วมกัน และควรมีการประชุมเฉพาะสาขาเพื่อจัดทำหลักสูตรร่วมกัน ด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหาคือ นักศึกษาฝึกงานด้วยเรียนด้วยทำให้เรียนได้ไม่เต็มที่ มีปัญหาต่อการเรียน และสถานประกอบการบางแห่งไม่ได้มาตรฐานส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน ข้อเสนอแนะคือ ให้เรียนทฤษฎีให้หมดแล้วจึงออกฝึกงาน และควรส่งนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการที่มีมาตรฐานระดับจังหวัด ด้านการนิเทศการศึกษาปัญหาคือ การนิเทศไม่ทั่วถึง บุคลากรมีน้อย และไม่มียานพาหนะ ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดพื้นที่ในการฝึกงานอย่างเป็นระบบ เป็นกลุ่ม จัดบุคลากรให้มากขึ้น และควรจัดยานพาหนะในการออกนิเทศและด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษาปัญหาคือ ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ขาดการวางแผนวัดผลไม่ตรงตามหลักสูตร ข้อเสนอแนะอ ควรจัดทำมาตรฐานการประเมินร่วมกันในรูปแบบคณะกรรมการมีการวัดผลจริงตามจุดประสงค์ของหลักสูตร และควรจัดประชุมการวัดและประเมินผลการศึกษาให้ถูกต้อง เป็นธรรม มีมาตรฐาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ลำปาง
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Email: webmaster_library_lpru@hotmail.co.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Created: 2548-10
Issued: 2549-09-29
Modified: 2556-04-23
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
วจ 378.101 ส225ก
9749912381
tha
Spatial: ลำปาง
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี รุ่นที่ 8 กลุ่มที่ 2 (M.Ed.8/2) พ.ศ.2564

ร่วมพิธีเปิดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์และสะเต็มศึกษา (STEM Education)